โหมดการเข้าถึงสำหรับผู้พิการ
ปรับขนาดตัวอักษร
ภาษา
เปลี่ยนภาษา
ประวัติความเป็นมา
ประวัติโรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี
(มูลนิธิท่งเซียเซี่ยงตึ๊ง)
ที่ตั้ง : โรงพยาบาลมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี เลขที่ 161/27, 233
ถนนแสงศรี อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
        โรงพยาบาลมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี ตั้งขึ้นโดยการริเริ่ม
ของกรรมการมูลนิธิมิตรภาพสามัคคี เมื่อปีพ.ศ.2518
เริ่มแรกเป็นเพียงสถานพยาบาลขนาดเล็ก
ไม่มีเตียงผู้ป่วยไว้ค้างคืน
        ต่อมาได้สร้าง อาคาร 5 ชั้น เพื่อให้เป็นโรงพยาบาลที่เป็นที่พึ่งของประชาชนด้านสาธารณสุข ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิฯ และสนองตอบต่อปณิธานของหลวงปู่ใต้ฮงโจวซือ โดยมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี พลเอกเปรมติณสูลานนท์ เป็นประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาล ในวันที่ 16 กรกฎาคม 2526
        หลังเปิดให้บริการมาเป็นระยะเวลา 40 ปี จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

        ทางมูลนิธิมิตรภาพสามัคคีฯ จึงมีมติให้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่
(7 ชั้น)
ขึ้น โดยงบก่อสร้างทั้งหมดมาจากกองทุนของมูลนิธิฯ ร่วมกับ
เงินบริจาคของคหบดีชาวหาดใหญ่

        ซึ่งเริ่มดำเนินการ ก่อสร้างตั้งแต่ปีพ.ศ.2551 จนดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ.2563 และเปิดทำการเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2563

         โดยโรงพยาบาลได้ดำเนินกิจกรรมร่วมช่วยเหลือต่างๆ ในช่วง Covid-19 ระบาด
        วันที่ 7 ธันวาคม 2563 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โปรดเกล้าพระราชทานชื่ออาคารดังกล่าวว่า "สิริรักษ์" ซึ่งหมายถึง อาคารที่เป็นแหล่งการรักษาอันเป็นมงคล

        และพระราชทานพระราชานุญาตใหเชิญอักษรพระนามาภิไทย "สธ"ประดับที่ป้ายชื่ออาคารด้วยและจะเสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์มาทรงเปิดอาคาร "สิริรักษ์" ในวันที่ 27 เมษายน 2566 นี้
        ต่อมาได้ปรับปรุงอาคาร 5 ชั้น เป็นตึกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายศูนย์ไตเทียม และแผนกกายภาพบำบัด

        ส่วนห้องอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินและหอผู้ป่วยสามัญรวม เตรียมเปิดให้บริการในเร็วๆ นี้
วิสัยทัศน์ (vision)
โรงพยาบาลมิตรภาพสามัคคี เป็นสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิ ที่ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนทั้ง ชาวไทยและต่างชาติ
พันธกิจ (Mission)
  1. ให้บริการส่งเสริม ป้องกัน รักษาพยาบาล ฟื้นฟู อย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ผู้รับบริการมีความปลอดภัย ให้บริการด้วยหัวใจ แห่งความเป็นมนุษย์ ยึดคุณธรรม จริยธรรม ภายใต้สิ่งแวดล้อม ที่ปลอดภัย เกื้อกูลชุมชน ประชาชนไว้วางใจ
  2. บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างมีความสุขและมีศักยภาพด้วย ระบบบริหาร การจัดการองค์กรที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
  3. กระตุ้น ส่งเสริม ให้เกิดกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และเกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้